ข้อเสนอแนะอันเป็นผลจากการวิจัยและหรือสาระสืบเนื่องในครั้งนี้ มีดังนี้คือ
1.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ควรมีนโยบายการนำฟ้อนต์อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยชุดนี้ ไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในทุกหน่วยงานและโดยตรง ซึ่งบุคลากรทุกระดับ ควรต้องคอยสอดส่องดูแลเอาใจใส่ให้ความสำคัญกับงานวิจัย สร้างสรรค์ งานประดิษฐ์อันเป็นภูมิปัญญาของบุคคลากร และคนในองค์กรก็ควรร่วมมือร่วมใช้กันอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมทางกฏหมาย ไม่ไปละเมิดลิขสิทธิ์ฟ้อนต์ของผู้ผลิตอื่น อีกทั้งยังสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ เพื่อติดตั้งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั้งมหาวิทยาลัย และยังถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาด้านลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม ของมหาวิทยาลัย ที่มีมูลค่า สามารถถือสิทธิ์สืบทอดได้ยาวนาน และพัฒนาให้มีรูปอักขระอื่นๆเพิ่มเติม เพิ่มภาษาอื่นเข้าร่วมใช้ได้อีก
2.ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้มีการออกแบบสร้างสรรค์พัฒนาฟ้อนต์คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตฟ้อนต์คอมพิวเตอร์ในภาคหน่วยงานของรัฐที่ถือครองลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม โดยเฉพาะมีศักยภาพ มีความพร้อมทั้งทางด้านเงินทุนสนับสนุน มีบุคคลากรทั้งคณาจารย์ประจำการและนักศึกษาที่มีการเรียนรู้ในหลักสูตรวิชา มีปัญญาประดิษฐ์ สามารถนำเอาไฟล์ต้นแบบหรือแบบอักษรอัตลักษณ์นี้ ไปออกแบบพัฒนาต่อยอด ขยายแบบ เผยแพร่สู่การใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ หรือนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ให้เกิดสกุลฟ้อนต์ CRU ได้อีกมากมายและสร้างสรรค์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อสามารถสร้างเอกลักษณ์ทางภาพลักษณ์รวม ให้บังเกิดแก่กลุ่มองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ให้มีโอกาสได้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยสร้างสรรค์หรือเกิดการพัฒนาร่วมกัน
3.ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
3.1 ควรมีการศึกษาวิจัยเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องและบูรณาการกับศาสตร์สาขาอื่นๆ เช่นทางสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสาตร์ เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนด้านความสำคัญของแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ที่มีผลกระทบต่อเอกลักษณ์และวัฒนธรรม ทางการสื่อสารทางภาษา ทางการพิมพ์ หรือเพื่อการพาณิชย์ เช่นเรื่อง ผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ฟ้อนต์
3.2 ควรมีการออกแบบสร้างสรรค์โปรแกรมฟ้อนต์ตระกูลและรูปแบบอื่นอย่างต่อเนื่อง เช่นฟ้อนต์ที่มีรูปแบบคุณลักษณะอักขระตามแบบหลักที่เป็นเอกลักษณ์ตามวิธีเขียนเฉพาะไทยเดิมตามอย่างตำนาน หรือตามที่กำหนดแนวทางไว้โดยราชบัณฑิตสถานในเชิงอนุรักษ์ และสามารถนำรูปแบบไปต่อยอด ขยายคลี่คลายเป็นรูปแบบที่ร่วมสมัยให้มากขึ้น และควรเพิ่มเติมแบบตัวอักษรหรือตัวพิมพ์ในภาษาอาเซียนเข้าร่วมใช้ในแม่แบบไฟล์ตัวพิมพ์ เช่นให้มีภาษาละติน ไทย ลาว รวมเป็น 3 ภาษา หรือมีภาษาร่วมใช้ 2 ภาษาเช่น ไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา เพื่อสามารถสนองประโยชน์ด้านการพิมพ์ และการใช้งานประกอบร่วมในแบบงานสร้างสื่อ หรือสร้างแม่แบบไฟล์ให้รองรับกับการแบบดิจิตัลฟ้อนต์ได้อย่างสากล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น